น้ำมีความสำคัญต่อเราอย่างไร ?
น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ลืมตา เราใช้น้ำสำหรับดื่มกิน ประกอบอาหาร ชำระร่างกาย น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในน้ำ เช่น กุ้ง หอย ปลา ปู และสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ ในภาคอุตสาหกรรมต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ใช้ล้างเครื่องจักร ใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน เราจึงต้องใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาเกิดขึ้นกับแหล่งน้ำเป็นจำนวนมากทั้งปัญหาน้ำไม่พอใช้ การขาดแคลนน้ำ รวมถึงปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
น้ำเสียและแหล่งที่มาของน้ำเสีย
น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสิ่งปนเปื่อนต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งเป็นน้ำที่น่ารังเกียจของคนทั่วไป ไม่เหมาะสำหรับการใช้ประโยชน์ หรือถ้าปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็จะทำให้คุณภาพน้ำแย่ลง เน่าเสีย สิ่งมีชีวิตในน้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
แหล่งที่มาของน้ำเสีย (SOURCES OF WASTEWATER) สามารถแบ่งออกได้ 3 แหล่ง ดังนี้
1. น้ำเสียจากการเกษตร (AGRICULTURAL WASTEWATER) เป็นน้ำเสียที่เกิดจากการเพาะปลูก น้ำเสียจากการเลี้ยงสัตว์และการล้างคอก
2. เสียจากชุมชน (DOMESTIC WASTEWATER) เป็นน้ำเสียที่เกิดจากการใช้น้ำประจำวันของประชาชนที่อาศัยในชุมชน เช่น การประกอบอาหาร การอาบน้ำหรือชำระล้างสิ่งสกปรกภายในครัวเรือน และอาคารประเภทต่าง ๆ
3. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL WASTEWATER) เป็นน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียประเภทนี้จะมีลักษณะสมบัติแตกต่างกันไปตามประเภทของโรงงาน
การบำบัดน้ำเสีย คือ อะไร
การบำบัดน้ำเสีย หมายถึง การปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียให้ดีขึ้น ทำให้สิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียหมดไป หรือเหลือน้อยที่สุด เพื่อให้น้ำทิ้งผ่านมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การบำบัดทางกายภาพ (PHYSICAL TREATMENT) เป็นวิธีการแยกขยะ หรือสิ่งเจือปนที่มีขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสีย โดย ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันและน้ำมัน เป็นต้น
2. การบำบัดทางชีวภาพ (BIOLOGICAL TREATMENT) เป็นกระบวนการที่อาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายและกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสีย โดยความสกปรกกับสารอินทรีย์ในน้ำจะใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบใช้อากาศ และแบบไม่ใช้อากาศ
3. การบำบัดทางเคมี (CHEMICAL TREATMENT) เป็นวิธีแยกสารต่าง ๆ หรือสิ่งเจือปนในน้ำเสียออก เช่น โลหะหนัก สารพิษ ที่ปนเปื้อนอยู่โดยการเติมสารเคมีต่าง ๆ ลงไปเพื่อทำปฏิกิริยา กระบวนการทางเคมีจะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อน้ำเสียที่เกิดขึ้นไม่สามารถบำบัดได้ด้วยกระบวนการทางกายภาพหรือชีวภาพ
ทำไมต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย ?
- เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำเสียให้อยู่ในสภาพที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- เพื่อทำลายตัวการที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ
- เพื่อปรับปรุงสภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
- เพื่อไม่ให้เกิดความเดือนร้อนต่อชุมชนรอบข้าง ลดสาเหตุที่ก่อให้เกิดการร้องเรียน เช่น กลิ่น สี
การตรวจสอบประสิทธิภาพน้ำเสียเบื้องต้น
การตรวจสอบประสิทธิภาพน้ำเสียเพื่อประเมินความสามารถของระบบว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการรับน้ำเสียเข้าระบบหรือไม่ โดยมีปัจจัยที่ต้องตรวจสอบ ดังนี้ สำหรับระบบแบบใช้อากาศ
1. DO หรือ ค่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ควรไม่ต่ำกว่า 2 mg/L
2. pH ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-9
3. ค่า SV30 หมายถึง ค่าปริมาตรของสลัดจ์ที่อ่านได้จากการนำน้ำจากบ่อเติมอากาศมาตกตะกอนใน Imhoff Cone ขนาด 1,000 mL เป็นระยะเวลา 30 นาที ซึ่งค่าที่ได้จะสามรถนำมาประเมินลักษณะการตกตะกอนของสลัดจ์ได้ว่ามีสภาพอย่างไร ค่าควรอยู่ระหว่าง 200-300 mL/L
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กฎหมายที่ควรรู้
กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พ.ศ.2560
มาตรฐานน้ำทิ้งต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (พิจารณา 8 พารามิเตอร์หลัก เป็นเบื้องต้น)
1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5.5-9.0
2. ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids หรือ TDS) มีค่าดังนี้
- กรณีระบายลงแหล่งน้ำต้องไม่เกิน 3,000 mg/L
- กรณีระบายลงแหล่งน้ำที่มีค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดเกินกว่า 3,000 mg/L ค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดในน้ำทิ้งที่จะระบายได้ต้องมีค่าเกินกว่าค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในแหล่งน้ำนั้นไม่เกิน 5,000 mg/L
3. ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids หรือ TSS) ไม่เกิน 50 mg/L
4. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 20 mg/L
5. ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 120 mg/L
6. ซัลไฟด์ (Sulfide) ไม่เกิน 1 mg/L
7. น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease) ไม่เกิน 5 mg/L
8. ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 100 mg/L
กลุ่มอาคารต่าง ๆ
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด
“อาคาร” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้น ไม่ว่ามีลักษณะเป็นอาคารหลังเดียว หรือเป็นกลุ่มของอาคารซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกัน และไม่ว่าจะมีท่อระบายน้ำท่อเดียว หรือมีหลายท่อที่เชื่อมติดกันระหว่างอาคารหรือไม่ก็ตาม ซึ่งได้แก่
1. อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
2. โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
3. หอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
4. สถานบริการประเภทสถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัว ซึ่งมีผู้ให้บริการแก่ลูกค้า ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
5. โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
6. อาคารโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน โรงเรียนของทางราชการอาคารสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ
7. อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การระหว่างประเทศและของเอกชน
8. อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า
9. ตลาด ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข แต่ไม่รวมถึง ท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือกิจการแพปลา
10. ภัตตาคารหรือร้านอาหาร
แบ่งประเภทของอาคารออกเป็น 5 ประเภท
1. อาคารประเภท ก.
2. อาคารประเภท ข.
3. อาคารประเภท ค.
4. อาคารประเภท ง.
5. อาคารประเภท จ.
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งอาคารประเภท ก. ต้องมีค่าดังต่อไปนี้
1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5.0-9.0
2. ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids หรือ TDS) ต้องมีค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำใช้ตามปกติไม่เกิน 500 mg/L
3. ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids หรือ TSS) ไม่เกิน 30 mg/L
4. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 20 mg/L
5. ตะกอนหนัก (Settleable Solids) ไม่เกิน 0.5 mg/L
6. ซัลไฟด์ (Sulfide) ไม่เกิน 1 mg/L
7. น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease) ไม่เกิน 20 mg/L
8. ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 35 mg/L
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งอาคารประเภท ข. ต้องมีค่าดังต่อไปนี้
1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5.0-9.0
2. ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids หรือ TDS) ต้องมีค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำใช้ตามปกติไม่เกิน 500 mg/L
3. ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids หรือ TSS) ไม่เกิน 40 mg/L
4. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 30 mg/L
5. ตะกอนหนัก (Settleable Solids) ไม่เกิน 0.5 mg/L
6. ซัลไฟด์ (Sulfide) ไม่เกิน 1 mg/L
7. น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease) ไม่เกิน 20 mg/L
8. ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 35 mg/L
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งอาคารประเภท ค. ต้องมีค่าดังต่อไปนี้
1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5.0-9.0
2. ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids หรือ TDS) ต้องมีค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำใช้ตามปกติไม่เกิน 500 mg/L
3. ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids หรือ TSS) ไม่เกิน 50 mg/L
4. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 40 mg/L
5. ตะกอนหนัก (Settleable Solids) ไม่เกิน 0.5 mg/L
6. ซัลไฟด์ (Sulfide) ไม่เกิน 3 mg/L
7. น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease) ไม่เกิน 20 mg/L
8. ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 40 mg/L
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งอาคารประเภท ง. ต้องมีค่าดังต่อไปนี้
1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5.0-9.0
2. ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids หรือ TDS) ต้องมีค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำใช้ตามปกติไม่เกิน 500 mg/L
3. ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids หรือ TSS) ไม่เกิน 50 mg/L
4. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 50 mg/L
5. ตะกอนหนัก (Settleable Solids) ไม่เกิน 0.5 mg/L
6. ซัลไฟด์ (Sulfide) ไม่เกิน 4 mg/L
7. น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease) ไม่เกิน 20 mg/L
8. ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 40 mg/L
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งอาคารประเภท จ. ต้องมีค่าดังต่อไปนี้
1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5.0-9.0
2. ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids หรือ TSS) ไม่เกิน 60 mg/L
3. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 200 mg/L
4. น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease) ไม่เกิน 100 mg/L